ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
โรคปอดบวม(pneumonia)

             โรคปอดบวม หรือว่า Pneumonia คืออาการติดเชื้อในบริเวณปอด ซึ่งเกิดจากสิ่งมีชีวิต ขนาดเล็กหรือที่เรียกว่าจุลชีพ โรคนี้อาจแพร่กระจายได้จากผู้ป่วยที่เป็นโรคอยู่แล้ว หรือบางท ีก็มาจากการ สูดอาหารหรือของเหลวเข้าไปในปอด แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ทำให้โอกาส ของการเกิดโรคนี้ลดลงซึ่งในกลุ่มเด็กแล้ว ไข้หวัดทำให้เกิดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ มากกว่าโรคปอดบวมเสียอีก ที่ว่าบางครั้งโรคนี้ก็อาจปรากฏขึ้นมาได้ในสภาพแวดล้อม ส่วน สาเหตุ ของโรคนั้นมาจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือจุลชีพต่าง ๆ

สาเหตุ

             ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น ฮีโมฟิลัส ซอมนัส (Hemophilus somnus) ไมโคพลาสมา (Mycoplasma spp.) โครีนีแบคเทอเรียม ไพโอจีเนส(Corynebacterium pyogenes) พาสเจอเรลลา (Pasteurella spp.) ซัลโมเนลลา (Salmonella spp.) อี.คอไล(E. coli) เป็นต้นซึ่งทำให้เกิดโรคโดยตรงหรือเข้าไปเป็นโรคแทรกซ้อนของโรคอื่น ที่พบบ่อยคือ โรคทางเดินระบบหายใจได้แก่พาสเจอเรลโลซีส,ไวรอล อินเตอสติเชียลนิวมอเนีย, อินเฟคเชีย สโบวายไร โนทราคิไอติส และไมโคติคนิวมอเนีย(Pasteure llosis, Viral interstitial pneumonia, Infectious bovine rhinotracheitis และ Mycotic pneumonia) เป็นต้น โรคติดเชื้อระบบอื่น ได้แก่ โรคท้อง ร่วงในลูกโค สะดืออักเสบ ข้ออักเสบ และ โบวายไวรอล ไดอะเรีย (Bovine viral diarrhea) เป็นต้น สาเหตุรองลงมา ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อรา และพยาธิ

อาการของโรคปอดบวม

             จะมีไอมาก หายใจหอบ หรือหายใจ ลำบากและไข้ ในเด็กโตอาจบ่นเจ็บหน้าอก หรือ บริเวณชายโครงด้วยอาจเริ่มเหมือน หวัด ก่อน 1-2 วัน ความรุนแรง ของโรค ปอดบวมในเด็กนั้น แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

  1. โรคปอดบวมชนิดไม่รุนแรง  รักษา โดยกินยาที่บ้าน ผู้ป่วยจะมีอาการไอและ หอบหรือหายใจ เร็วโดยใช้หลักเกณฑ์ อัตราการหายใจ ดังนี้
  • เด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน หายใจ หอบ คือหายใจตั้งแต่ 60 ครั้ง ต่อนาที ขึ้น ไป
  • เด็กอายุ 2-11 เดือน หายใจหอบ คือ หายใจตั้งแต่ 50 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป
  • เด็กอายุ 1-5 ปี หายใจหอบ คือ หายใจตั้งแต่ 40 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป

            เวลานับอัตราการหายใจต้องนับให้ครบ 1 นาที ในขณะที่เด็กสงบ ไม่ร้องหรือดิ้น ในเด็กเล็ก ให้ดูการกระเพื่อมขึ้นลง ของ หน้าท้อง อาจเปิดเสื้อขึ้นดูให้ชัด ถ้าเป็นใน เด็กโตกว่า 7 ขวบ ให้ดูการ เคลื่อนไหว ของทรวงอก เคลื่อนโป่งออก และแฟบลงเป็น 1 ครั้ง

    2. โรคปอดบวมชนิดรุนแรงจะมีอาการไอและหายใจแรงมากจนทรวงอกส่วนล่าง (บริเวณ ลิ้นปี่ตลอดชายโครง) บุ๋มเข้าขณะหายใจเข้า จะมีหอบร่วมด้วยหรือไม่ก็ตาม แพทย์จะรับไว้รักษา ในโรงพยาบาล

    3.  โรคปอดบวมชนิดรุนแรงมาก เด็กจะมีเสียงหายใจผิดปกติ อาจมีเสียงฮืดเวลาหายใจเข้า หรือเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือนมีเสียงหวีดเวลาหายใจออก หรือเด็กไม่กินนม-น้ำ ซึม ปลุกตื่นยาก หอบเหนื่อยมาก จนริมฝีปากเขียว ชัก ฯลฯ แพทย์จะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ในเด็กที่อายุ ต่ำกว่า 2 เดือน ถ้าเป็นปอดบวมถือว่ารุนแรงทุกราย เด็กอาจมาด้วยอาการไข้สูง ไม่กินนมหรือน้ำ โดยอาจไม่ไอ แพทย์จะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพราะมีอันตรายได้มาก อาการจะเปลี่ยนแปลง รวดเร็ว เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุก็แตกต่างกับเด็กโต จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะแตกต่างกัน

การรักษาโรคปอดบวม                                                                                        

  • ถ้าเป็นปอดบวมไม่รุนแรง จะได้รับการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะไปกินที่บ้าน จะต้องให ้เด็กกินยาสม่ำเสมอ ขนาดยาตามแพทย์สั่ง ควรอ่านฉลากยาก่อนให้กินยาเสมอ และกินจนครบ ชุด รวม 5-7 วัน
  • ส่วนอาการอื่น ๆ เช่น ไข้ จะได้รับยาแก้ไข ้เช่นเดียวกับโรคหวัด ให้กินเฉพาะเวลาตัว ร้อน ห่าง กันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • อาการไอนั้น ในโรคปอดบวมจะไอได้มากกว่าโรคหวัด ยาที่กินอาจเป็นยาขับเสมหะ หรือยา ละลายเสมหะ บางครั้งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาขยายหลอดลมด้วย ห้ามกินยากดไม่ให้ ไอหรือยา แก้แพ้ หรือยาแก้ไอสำเร็จรูปที่มีตัวยาตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป เพราะแทนที่จะมีประโยชน์ อาจเป็นโทษ เช่น ทำให้เด็กไอไม่ออก เสมหะที่มีมากอาจตกเข้าไปค้างในหลอดลมทำให้ปอด แฟบได้
  • นอกจากนี้ให้ผู้ป่วยได้กินน้ำบ่อยๆ ไม่ลดอาหาร ทำเช่นเดียวกับโรคหวัด พ่อแม่หรือผู้ เลี้ยง เด็กต้องคอยดูอาการ ถ้าอาการมากขึ้นจะต้องพาไปพบแพทย์ใหม่ หรือ 2 วันแล้วอาการ ยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องพาไปตรวจอีกโดยมากควรพาไปตรวจอีกครั้งเมื่อครบ 2 วัน ส่วนมากอาการ จะดีขึ้นและค่อย ๆ หายใน 1 อาทิตย์ อาการที่ไม่ดีขึ้นหรือเลงลง ได้แก่ หอบมากขึ้นหายใจต้อง ออกแรงมากขึ้นหรือ มีอาการของภาวะป่วยหนักอื่น ๆ เช่น เด็กซึม ไม่กินนมน้ำ ชักซึ่งจะต้อง รักษาในโรงพยาบาล

ในรายเป็นปอดบวมรุนแรงและรุนแรงมาก จะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลโดย

  • การฉีดยาปฏิชีวนะ อาจต้องให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือดในบางราย
  • อาจต้องให้ออกซิเจนในรายที่หายใจเหนื่อยมาก หรือริมฝีปากเขียว หรืออ่อนเพลีย ซึม ไม่กินนมน้ำ
  • ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

โรคปอดบวมมีอันตรายมากในผู้ป่วยเหล่านี้

  • อายุน้อย โดยเฉพาะในขวบแรก
  • เป็นเด็กน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย หรือเด็กขาดอาหาร
  • มีความพิการ โดยเฉพาะหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • เชื้อที่เป็นสาเหตุเป็นชนิดรุนแรง โดยเฉพาะเชื้อบักเตรี
  • มารับการรักษาช้าไป

การป้องกันโรคปอดบวม

            ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนที่เหมาะสม เพราะโรคปอดบวมในเด็กเกิดได้จากเชื้อบักเตรี หลายชนิด และเชื้อไวรัสหลายชนิด วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถครอบคลุม เชื้อหลายชนิด ได้ แม้จะฉีดวัคซีนป้องกันปอดบวมหลายเข็ม ก็ป้องกันโรคได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น การ ป้องกันจึงใช้วิธีหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ เช่นเดียวกับการป้องกันโรคหวัด ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดบวม โดยเฉพาะเด็กทารกถ้าเป็น ปอดบวมจะมีอันตรายมาก
  • หลีกเลี่ยงมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันท่อไอเสียรถยนต์ และหมอกควัน ในอากาศ
  • ในเด็กอ่อนเดือน ต้องไม่ให้สัมผัสกับความหนาวเย็น
  • นอกจากนี้ต้องเลี้ยงดูเด็กให้แข็งแรง กินอาหารที่มีคุณค่า ไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคตาม แนวทางกระทรวงสาธารณสุข และเด็กทุกคนควรเกิดมาแข็งแรง ไม่พิการ แม่ควรฝากครรภ์ ตั้งแต่เนิ่น ๆ ควรวางแผนครอบครัวก่อนจะมีลูกด้วย
  • ถ้ามีอาการสงสัยว่าจะเป็นปอดบวม ให้รีบพาไปตรวจ เพื่อเด็กจะได้รับการรักษาตั้งแต่ ระยะแรก อันตรายจะน้อยลง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th