ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
รู้เท่าทัน ป้องกันโรคกระดูกพรุน

       คุณอาจจะคิดว่า เมื่อผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นไปแล้ว ความสูงก็จะคงที่ แต่แท้จริงแล้วกระดูกยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเนื้อกระดูกเดิมจะถูกทำลาย และแทนที่ด้วยเนื้อกระดูกที่สร้างใหม่ แต่เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป การทำลายจะมีมากกว่าการสร้างใหม่ ทำให้เนื้อกระดูกลดลงทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่เพศหญิงโดยธรรมชาติแล้วก็จะมีมวลกระดูกน้อยกว่าเพศชาย และยิ่งเมื่อหมดประจำเดือน อัตราการสูญเสียเนื้อกระดูกจะสูงกว่าเพศชายถึง 3 เท่า ทำให้เพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าเพศชาย เมื่อความหนาแน่นของกระดูกลดน้อยลง กระดูกก็เปราะบาง ทำให้มีโอกาสแตกหักได้ง่าย โดยเฉพาะตรงข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลัง

อาการ
  • ปวดเกร็งก้านคอ
  • ปวดหลังเรื้อรัง
  • ส่วนสูงลดลง
  • กระดูกสะโพก ข้อแขนหรือสันหลังหัก
  • ไหล่งุ้มกว่าปกติ
  • พุงยื่น หลังแอ่น
  • ฟันหลุดง่าย

ปัจจัยเสี่ยง

  • เพศหญิง มีโอกาสเกิดโรคมากกว่าเพศชาย
  • เชื้อชาติ ผิวขาว และเอเชีย โอกาสเกิดโรคมากกว่า นิโกร
  • ประวัติครอบครัวเคยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
  • ภาวะขาด (หมด) ประจำเดือนเร็ว / ผ่าตัดรังไข่
  • คนรูปร่างผอม, BMI (BODY MASS INDEX) ต่ำ
  • คนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย
  • ได้รับยากลุ่ม สเตียรอยด์ , ยากันชัก , ยาธัยรอยด์
  • รับประทานอาหารไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก , รับประทานเกลือโซเดียมและฟอสเฟตในปริมาณสูง , รับประทานแคลเซียมน้อย
  • ชอบดื่มกาแฟ , แอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่

การปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน

  • ควรลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสม เช่น ลดปริมาณอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม ,ของหมักดอง , รับประทานปลาตัวเล็กๆ หรือปลาป่น ( รับประทานตั้งกระดูก) , รับประทานอาหารเสริมที่ปริมาณแคลเซี่ยมเพิ่มเติม หรือดื่มนมเป็นประจำ
  • หากพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th