ตับอักเสบ(Hepatitis) |
ตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบ เกิดการทำลายของเซลล์ตับ ทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติ ร่างกายมีการเจ็บป่วย ไม่สบาย พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ได้ในทุกวัย ทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่เป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนน้อยอาจ เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง โรคตับวาย มะเร็งตับ |
สาเหตุ สาเหตุของโรคตับอักเสบ ที่พบบ่อยที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัส รองลงมาเกิดจาก พิษสุรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว เลปโตสไปโรสิส พยาธิ ยาบางชนิด สารเคมี |
ชนิด โดยส่วนมากจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ ดังนี้คือ
|
ไวรัสตับอักเสบ ชนิดเอ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ เกิดจาก การกินเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น อาหาร ผักสด ผลไม้ น้ำดื่ม ที่ปนเปื้อนเชื้อนี้ ทำไม่สุก ไม่สะอาด ไม่ต้มเดือด เป็นต้น |
ไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี คนเป็นพาหะ (Carrier) ที่สำคัญของเชื้อไวรัสนี้พบเชื้อนี้ในประชากรโลกกว่า 200 ล้านคน ประเทศไทยมีความชุกคนของพาหะร้อยละ 8 - 10 คือ ประมาณ 5 ล้านคนที่มีเชื้อในร่างกาย พบเชื้อได้ในเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำลาย น้ำตา น้ำนม เป็นต้น ทำให้มีโอกาสแพร่ เชื้อได้หลายทาง ทางเข้าของเชื้อ ได้แก่
ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ 30 - 180 วัน เฉลี่ย 60 - 90 วัน ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสนี้จะหายเป็นปกติ ที่เหลือเป็นพาหะของเชื้อต่อไป พาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบนี้ อาจไม่มีอาการแต่แพร่เชื้อต่อไป ส่วนหนึ่งอาจป่วยเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็งตับได้ ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อนี้มีโอกาสเสี่ยงของมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไปถึง 223 เท่า |
ไวรัสตับอักเสบ ชนิดดี เป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ บี พบเชื้อนี้ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นที่มีเชื้อไวรัส บี ทางติดต่อเช่นเดียวกับ ไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัสตับอักเสบชนิด ซี เป็นสาเหตุที่สำคัญของ ตับอักเสบที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับเลือด/ผลิตภัณฑ์เลือด เดิมเรียกว่า ไวรัสตับอักเสบ ชนิด ไม่ใช่เอ ไม่ใช่บี |
การวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากไวรัส จากอาการดับกล่าว ร่วมกับ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือด ดังนี้ |
การรักษาโรคตับอักเสบจากไวรัส ยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง เป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่ การพักผ่อนเต็มที่ในระยะต้นจะทำให้อ่อนเพลียลดลง งดการออกแรงออกกำลังกาย การทำงาน งดการดื่มสุรา รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย น้ำหวาน น้ำผลไม้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงในระยะที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก ในรายที่อาการมากอาจให้สารน้ำเข้า เส้นเลือดดำ ให้ยาแก้คลื่นไส้ ยาวิตามิน ฯลฯ |
การป้องกันการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ
5. การฉีดวัคซีนป้องกัน ไวรัสตับอักเสบบี
|
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ (Ig M Anti HAV) ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (HBs Ab) |
Produce by Medical Service Department
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514 ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966 โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029
ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th