ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 

ริดสีดวงทวาร(Hemorrhoid)

ริดสีดวงทวาร เกิดจากการโตขึ้นกลุ่มของ เส้นเลือด และ เนื้อเยื่อ บริเวณส่วนปลายของลำไส้ตรง ที่เรียกว่า hemorrhoidal tissue

คนปกติมีริดสีดวงหรือไม่  เนื่อเยื่อนี้มีหน้าที่อะไร 

          ในคนปกติ จะมีริดสีดวง(hemorrhoidal tissue)ทุกคน โดยจะอยู่บริเวณส่วนล่างของทวารหนัก เนื้อเยื่อริดสีดวงจะมีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ (ลองนึกภาพ ถ้าเรานอนหงายแล้วกางขาออก  เหมือนท่าคนจะคลอดลูก เปรียบเทียบกับ นาฬิกาด้านหน้า เป็น 6 นาฬิกา  ด้านหลังเป็น 12 นาฬิกา ด้านซ้ายเป็น 3 นาฬิกา  ด้านขวาเป็น 9 นาฬิกา (ค่อยๆนึกครับ วาดรูปประกอบก็ได้) เนื้อเยื่อริดสีดวงปกติจะมีอยู่ 3 ตำแหน่ง  คือ ที่ 3 , 7 , และ 11 นาฬิกา  (ที่บอกมี 3 หัวอะไรทำนองนี้ครับ)

เนื่อเยื่อริดสีดวงมีหน้าที่อะไร?

          หน้าที่ปกติ จะมีหน้าที่ป้องกันกล้ามเนื้อของทวารหนักรวมทั้งหูรูด ระหว่างถ่ายอุจจาระและช่วยให้ทวารหนักปิดได้สนิทในขณะที่เราอยู่เฉย

โรคริดสีดวงทวารเกิดจากอะไร?

          ริดสีดวง เกิดจากการโตขึ้น ของ เนื้อเยื่อ Hemorrhoid  ซึ่งสาเหตุแบ่งง่ายๆ เป็น 2 อย่างคือ

  1. เป็นความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณนั้น
  2. เกิดจากการเพิ่มความดันต่อกำบังลมด้านล่าง(Pelvic Floor)นานๆ ซึ่งการเพิ่มความดันดังกล่าวเกิดได้จาก  การเบ่งอุจจาระบ่อยๆ จากท้องผูก  การยกของหนัก  การยืนนานๆ  รวมทั้งการตั้งครรภ์จากการที่มีเด็กอยู่ ทำให้เลือดไหลกลับไม่สะดวก
                                                               จากสาเหตุดังกล่าวทำให้  กลุ่มเส้นเลือดดังกล่าว โตและ ยืดออก  ซึ่งการที่มีเลือดออกนั้นเกิดจาก การที่มี การบาดเจ็บของเส้นเลือดบริเวณดังกล่าว(Local Injury)  ที่เจอบ่อยๆเกิดจาก อุจจาระที่แข็งมากๆ ร่วมกับการเบ่งนานๆ ทำให้จะมีเลือดสดๆ ไหลออกจากทวารหนัก

โรคริดสีดวงมีกี่ชนิด? เราแบ่งโรคนี้ออกเป็น 2  ชนิด คือ

ริดสีดวงภายใน คือริดสีดวงที่อยู่เหนือเส้นสมมุติที่เรียกว่า dentate line(บริเวณแถวๆ รอยที่หยักๆครับ)จะมีลักษณะที่สังเกตง่ายๆ คือ

  • จะคลุมด้วยเยื่อบุของทวารหนัก  ไม่ใช่ผิวหนัง ด้านนอก
  • จะไม่เจ็บ  ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน
  • ส่วนใหญ่มักเป็นอันนี้กัน

ริดสีดวงภายนอก คือริดสีดวงที่อยู่ใต้เส้น Dentate line  สังเกตง่ายๆคือ

  • จะเป็นก้อนทีอยู่ข้างนอก
  • ส่วนที่คลุมก้อนจะเป็นผิวหนัง  มักมีอาการคัน และ เจ็บมากกว่า ริดสีดวงภายใน
  • หลังจากอาการหายไป บางครั้งติ่งผิวหนังนั้นอาจยังอยู่ กลายเป็นติ่งเนื้อที่เรียกว่า Skin Tag

อาการของโรคริดสีดวง มีอะไรบ้าง? อาการของโรคนี้ที่มีพบแพทย์  มี 3 อาการ

  1. ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด  ลักษณะจะเป็นดังนี้ คือ จะถ่ายอุจจาระออกมาก่อน ( ระหว่างถ่ายอาจจะเจ็บหรือไม่ก็ได้) จากนั้นจะมีเลือดสดๆ
    หยดออกมาตามหลังจากอุจจาระ เลือดจะเป็นเลือดสดจริงๆ มักไม่มีมูกเลือดปน
  2. มีก้อนออกมาระหว่างถ่ายอุจจาระ  ขณะที่เบ่งอุจจาระจะมีก้อนยื่นออกมา หรือ มีก้อนออกมาตลอดเวลา ขึ้นกับระยะที่เป็น
  3. เจ็บบริเวณ ทวารหนัก  ปกติริดสีดวงจะไม่เจ็บ จะเจ็บในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เส้นเลือดอุดตัน(Thrombosis)
    หรือ มีเนื้อเยื่อตาย(Necrosis)

การรักษาโรคริดสีดวงทวาร ขึ้นกับระยะที่เป็น

ระยะ1  การรักษาในระยะนี้ ไม่ว่าจะเลือดออกหรือไม่ จะเน้นการใช้ยาและการปฏิบัติตัว การใช้ยาจะเป็นพวกยาที่ทำให้อุจจาระนุ่ม(Stool Softener) อาจใช้ยาประเภท Steroid เหน็บทวารเพื่อลดการอักเสบ การปฏิบัติตัวคือทานอาหารมีกากมากๆ  ทานน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงการเบ่ง  หรือนั่งนานๆ มีบางแห่งอาจใช้ Infrared ช่วยแต่ไม่จำเป็นครับ

ระยะ2-3 ต้นๆ  การรักษาด้วยยารวมทั้งการปฏิบัติตัวเหมือนเดิม อาจใช้ยาชนิดพิเศษ รัดริดสีดวงทวาร ( Rubber Band Ligation) ซึ่งได้ผลดีมาก ไม่เจ็บ ไม่ต้องผ่าตัด ทำได้บ่อยๆ  ภาวะแทรกซ้อนต่ำ

ระยะ 3ที่ใหญ่ๆ -4  ต้องผ่าตัดครับ

เมื่อไร ที่ต้องผ่าตัดริดสีดวง?

  1. เป็นระยะ 3ที่ใหญ่ หรือ ระยะ 4
  2. เป็นทั้ง ภายนอกและ ภายใน พร้อมกัน (Mixed Type)ซึ่งไม่สามารถ ที่จะใช้ยางรัดได้ (เพราะจะเจ็บมาก)
  3. มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เส้นเลือดอุดตัน  ปวดมาก  หรือ หัวริดสีดวงเน่าจากการขาดเลือด นั่นคือจะเห็นว่าถ้าเป็นไม่มากจริงๆ  ไม่ต้องผ่าตัดครับ  สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้

การป้องกัน

ขับถ่ายให้เป็นเวลา  ไม่ทำให้ท้องผูก
กินอาหารที่มีกาก  ผักผลไม้  เพื่อช่วยในการขับถ่าย
ดื่มน้ำมากๆ
ถ้ามีอาการผิดปรกติ  รีบปรึกษาแพทย์

ทำไมเราต้องมาสนใจโรคริดสีดวงด้วย?

           จริงๆ แล้วโรคริดสีดวงไม่ได้มีอะไรน่ากลัวเลย  อย่างมากก็เจ็บ เลือดออกส่วนใหญ่มักจะไม่มาก แต่ที่มากๆ จน Shock ก็มีครับ แต่ที่น่าจะระวังมากกว่านั้นคือ  เราอาจไม่ได้เป็นริดสีดวงก็ได้ อาการถ่ายเป็นเลือดสดนั้น  อาจเกิดได้จากหลายอย่าง เช่นโรคแผลที่ทวารหนัก(Anal fissure) ฯลฯ แต่ที่น่ากลัวกว่า คือ เนื้องอก หรือมะเร็ง บริเวณลำไส้ตรง หรือ ทวารหนัก ซึ่งจะมีอาการถ่ายเป็นเลือด เหมือนกัน  ซึ่งสามารถให้การวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจร่างกายธรรมดาเท่านั้น การรักษานั้น คนละเรื่องครับ ดังนั้น ถ้ามีอาการถ่ายเป็นเลือด ไม่ควรรักษาตัวเอง  ควรมาพบแพทย์ครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th