ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
กินอย่างไร? เมื่อเป็นโรคกระเพาะ

แต่ก่อนนี้ถ้าใครเป็นโรคกระเพาะถือว่าโชคร้ายเพราะ เป็นแล้วรักษาหายยาก แต่เมื่อรู้สาเหตุที่แท้จริงแล้วโรคกระเพาะรักษาไม่ยาก และปัจจุบันโรคกระเพาะสามารถรักษาให้หายได้ภายในเวลา 2-4 สัปดาห์ด้วยยาปฎิชีวนะและยาลดกรดเป็นหลัก

http://www.vcharkarn.com/uploads/211/212109.gifสาเหตุของโรคกระเพาะ
             ก่อนนี้ความเครียดกินอาหารผิดเวลาอยู่เป็นนิจและอาหารรสเผ็ดจัดจะถูกจัดเป็นสาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะ แต่ปัจจุบันวงการแพทย์ปะจักษ์กันดีกว่าตัวสาเหตุที่แท้จริงคือเชื้อแบคทีเรีย ที่มีลักษณะเหมือนเกลียวจุกคอร์ก ชื่อว่าเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร เรียกย่อๆว่าเอช.ไพโลไร (H.pylori)เป็นตัวที่ทำให้กระเพาะเป็นแผลอักเสบ

             นอกจากเชื้อแบคทีเรียที่ว่ายังมีสาเหตุรองอื่นๆของโรคกระเพาะ คือการใช้ยาแก้ปวดประเภทแอสไพริน หรือยาประเภทสเตียรอยด์ซึ่งใช้รักษาโรคข้ออักเสบหรือยาประเภทต้านการอักเสบ เรียกย่อๆว่า "เอ็นเสดส์" (NSAIDS) = Nonsteroidal anti-imflamatory) การใช้ยานี้เสมอๆอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคกระเพาะในคนที่ติดเชื้อเอช.ไพโลไรได้ นอกจากนี้ผู้ที่สูบบุหรี่จัดก็จะเพิ่มความเสี่ยงโรคกระเพาะ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่เพิ่มปริมาณกรดและความเข้มข้นของกรดในกระเพาะ และในคนที่เป็นโรคอยู่แล้ว แต่ไม่ยอมเลิกบุหรี่ก็จะทำให้การรักษาได้ผลน้อย

โภชนบำบัดสำหรับโรคกระเพาะ
             สมัยก่อนเมื่อยังไม่ทราบสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารที่ใช้รักษาโรคกระเพาะคือ ซิปปี้ไดเอ็ท (Sippy diet) ซึ่งใช้นมและอาหารประเภทครีมเป็นหลัก ซึ่งแพทย์สมัยนั้นเชื่อว่าจะช่วยเคลือบแผลในกระเพาะหรือลำไส้ แต่ปัจจุบันพบว่าอาหารดังกล่าวกลับทำให้อาการโรคกระเพาะแย่ลง เนื่องจากแคลเซียมในนมกระตุ้นการหลั่งของกรดทำให้แผลในกระเพาะหายช้าเข้าไปอีก

             ปัจจุบันอาหารไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะช่วยรักษาโรคกระเพาะ แต่จะใช้ยาเป็นหลักอาหารจะเป็นปัจจัยเสริมที่ใช้รักษาร่วมกับยาเพื่อลดอาการ

             หลักโภชนบำบัดในปัจจุบัน คือ การกินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่อย่างสมดุล เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน เพื่อช่วยรักษาเนื้อเยื่อแผลในกระเพาะให้หายเร็วขึ้น และเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นการหลั่งของกรดมากเกินไป มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้องกับนิสัยการบริโภคที่ผู้มีปัญหาโรคกระเพาะต้องปรับเปลี่ยนดังนี้

1. กินอาหารเป็นเวลา กินน้อยๆวันละ4 ถึง 5 มื้อ ไม่กินจุบจิบโดยเฉพาะก่อนนอน เพราะทุกครั้งที่อาหารตกถึงท้องจะ กระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะ
2. ปริมาณอาหาร ไม่กินอิ่มมากเกินไป มิฉะนั้นจะมีกรดหลั่งออกมามากเกินควร
3. เลี่ยงการดื่มนมบ่อยๆ นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาการย่อยน้ำตาลในนม (แลคโตส) อาจเกิดอาการท้องอืด มีแกส ปวดท้อง ท้องเสียได้เพราะระบบย่อยขาดเอ็นไซม์แลคเตสซึ่งใช้ย่อยน้ำตาลนม
4. การใช้เครื่องเทศรสเผ็ดจัด เช่น พริกต่างๆ กินเท่าที่ระบบย่อยของตัวเองจะรับได้โดยไม่เกิดอาการ ตัวคุณเองเท่านั้นที่จะบอกได้
5. กินอาหารที่มีกากใยสูง เช่นผัก ผลไม้ และธัญพืช โดยเฉพาะใยอาหารประเภทละลายน้ำ เช่น กล้วย มะละกอ แอปเปิล ซึ่งมีใยอาหารชนิดเพคตินมาก ช่วยป้องกันโรคกระเพาะและมะเร็งในกระเพาะอาหาร นักวิจัยพบว่าในกล้วยมีสารชนิดหนึ่งซึ่งช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลใน กระเพาะอาหารทำให้กระเพาะแข็งแรงขึ้น ทนต่อกรดได้ดี
6. กินผักใบเขียวจัดให้มากขึ้น เนื่องจากผักใบเขียวจัดมีวิตามินเคสูง ช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วขึ้น ป้องกันเลือดออกในกระเพาะ ช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหาร มีข้อมูลรายงานว่าผู้ที่มีโรคกระเพาะมักพบการขาดวิตามินเค ผักสีเขียวจัดบางชนิดเช่นบร็อคโคลี มีสารซัลโฟราเฟน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อนๆ นักวิจัยพบว่าสารสะกัดซัลโฟราเฟน ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้อเอช.ไพโลไร และอาจป้องกันมะเร็งได้
7. ผักผลไม้ที่มีเบตาแคโรทีนสูง เช่น แครอท ฟักทอง ผักใบเขียวจัด แคนตาลูป ช่วยป้องกันเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ เร่งให้แผลหายเร็วขึ้น การกินผักผลไม้ยังช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี ซึ่งช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วและป้องกันการติดเชื้อ
8. เลี่ยงกาแฟ รวมทั้งชนิดไม่มีคาเฟอีน เนื่องจากกาแฟกระตุ้นการหลั่งกรดและอาจทำ ให้อาหารไม่ย่อย ชาอาจจะพอรับได้สำหรับบางคนแต่ก็ยังมีส่วนกระตุ้นการหลั่งกรดอยู่ดี แม้จะน้อยกว่ากาแฟก็ตาม
9. เลี่ยงน้ำส้มน้ำมะนาว ถ้าทำให้ไม่สบายท้อง เนื่องจากกรดไหลย้อนกลับทางทำให้เกิดอาการแสบร้อนในลิ้นปี่
10. เลี่ยงอาหารทอด อาหารเค็มและน้ำอัดลม
11. เลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนจัด ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอาการ ทำให้ไม่สบายท้องได้
11. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์และไวน์ เพราะจะทำให้กระเพาะหลั่งกรดได้มากขึ้น
13. งดบุหรี่ 
14. เคี้ยวช้าๆในเวลากินไม่เร่งรีบ
15. ควรสังเกตตัวเองว่าอาหารชนิดใดที่ก่อให้เกิดปัญหาในระบบย่อย เพราะการตอบสนองต่ออาหารในแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้แต่อาหารชนิดเดียวกันถ้ากินคนละเวลาร่างกายก็จะตอบสนองต่างกัน
16. หลีกเลี่ยงความเครียด ถึงแม้ความเครียดจะไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ แต่อาจเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้อาการโรคกระเพาะเลวร้ายลงไปอีกโดยทำให้หายช้า

            ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ยาลดกรดมากเกินควร เนื่องจากกรดในกระเพาะจะช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหารเช่นเพิ่มการดูดซึม ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิดามินบี 12 ลดการเจริญของเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะ แบคทีเรียในอาหารเมื่อตกถึงกระเพาะจะถูกกรดทำลาย จึงช่วยป้องกันแบคทีเรียที่ก่อสารเกิดมะเร็ง การใช้ยาลดกรดมากจึงไม่ดีต่อระบบย่อย

             สรุปแล้ว หลักใหญ่ก็คือการมีโภชนาการดี กินอาหารให้หลากหลาย เป็นเวลาสม่ำเสมอ ไม่เร่งรีบในการกิน ระวังอาหารที่กระตุ้นการหลั่งกรดมากเกินควร อย่าทำตัวเป็นคนช่างเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินยาตามแพทย์สั่งโรคกระเพาะก็จะหายได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th